คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ... คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ... คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การบริหารการเงิน


       

เนื่องด้วยการเงินเป็นส่วนสำคัญในธุรกิจวันนี้จึงนำเทคนิคการบริหารการเงินมาชี้แจงแก่ผู้สนใจ และอย่าลืมว่าเงินจะอยู่ได้ต้องเข้าใจหลักบริหาร 

1. ความสำคัญของการบริหารเงิน

1.1 เงินมีจำกัด เงินในกระเป๋าของท่านล้วงออกมาก็จะพบว่าเงินค่อนข้างจำกัด หลายท่านอาจจะมีบัตร เครดิต แต่ก็ถูกจำกัดวงเงิน 

1.2 ความต้องการใช้เงินมาก เรามีความต้องการใช้เงินตลอดเวลา ไม่เฉพาะกับธุรกิจ แม้กระทั่งส่วนตัวของท่านก็มีการใช้เงินตลอดเวลา

1.3 การลงทุนมีหลายประเภท และแต่ละประเภทมีระยะเวลาการให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน การลงทุนโดยการซื้อของมาขาย ให้ผลตอบแทนเร็ว ขณะที่การลงทุนปลูกสร้างอาคารให้ผลตอบแทนช้า

1.4 เงินมีต้นทุน เรามีเงินอยู่ในกระเป๋า 100 บาท ไม่ได้หมายความว่า 100 บาท ใช้ทำอะไรก็ได้ แต่ในแง่ของผู้ประกอบการ เราต้องใช้เงิน 100 บาทอย่างฉลาดที่สุดโดยคำนึงถึงต้นทุนของเงิน ซึ่งต้นทุนของเงินก็มีอยู่ 2 ประภท คือ

1.4.1 ต้นทุนการเสียโอกาสของการใช้เงินที่เรามีอยู่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สิ่งเหล่านี้สำคัญ เงินก้อนหนึ่ง ถ้าเราเลือกใช้ไปแล้ว อาจไม่ได้ผล ประโยชน์ตอบแทนเลย แต่ถ้าเราเลือกใช้ไปในอีกทางหนึ่งกลับให้ผลตอบแทนมากมาย การเลือกที่จะลงทุนในอีกประเภทหนึ่ง โดยที่ไม่มีการลงทุนในอีกประเภทหนึ่ง ถือว่ามีการเสียโอกาสเกิดขึ้น ท่านผู้ประกอบการจะต้องชั่งน้ำหนักการใช้จ่ายเงินในแต่ละทางเลือกให้ ชัดเจน ในกรณีที่เป็นเงินของเราเอง

1.4.2 ต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งต้องใช้จ่ายให้แก่สถาบันการเงินของเราเอง

1.5 ป้องกันปัญหาเงินขาดแคลน การขาดแคลนเงินเนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้

1.5.1 ยอดขายไม่เป็นไปตามที่เราวางเป้าหมายเอาไว้

1.5.2 ต้นทุนประกอบการ ต้นทุนสินค้า ควบคุมไม่ได้ ต้นทุนสูง ขายไปแล้วมีแต่ขาดทุน

1.5.3 ขายสินค้าไปแล้วเก็บเงินไม่ได้ แต่ถ้าเราขายเชื่อ ขายให้กับลูกหนี้ที่ยิ่งยาว ยิ่งมีความเสี่ยง เพราะโอกาสที่จะเก็บเงินมาได้นั้น แตกต่างกัน เราจำเป็นต้องวิเคราะห์ความสามารถในการจ่ายเงินของลูกหนี้ด้วย

1.5.4 การซื้อสินค้ามากจนทำให้เกินสต๊อกมากเกินไป ธุรกิจ โรงพิมพ์เห็นได้ชัดเวลาที่เราจะพิมพ์การ์ด จะสังเกตเห็นเราต้องซื้อการ์ดสำเร็จ ที่เป็นรูป กระดาษมาสต๊อกไว้เสมอ เพราะเราต้องการให้ลูกค้าเข้ามาเห็นการ์ดของจริง ไม่ได้มองว่าให้ลูกค้ามาดูแคตตาล็อก แล้วเราไปซื้อมาพิมพ์ให้ลูกค้า เพราะฉะนั้น เราก็จำเป็นต้องเดาสุ่มว่าสินค้าตัวไหน กระดาษตัวไหน สวยพอที่ลูกค้าจะสั่งพิมพ์ แล้วถ้าเกิดปัญหา บางอย่างซื้อมาเป็นปี ๆ หนึ่ง พิมพ์ไม่กี่ครั้งแค่นั้นเอง การมีสินค้าสต๊อกมากเกินไปเกิดจากอะไร เกิดจากเราไม่รู้ว่าจะขายอย่างไรให้กับลูกค้าบ้าง เราก็ต้องสต๊อก มีเงินเท่าไหร่ ก็ถมให้กับสต๊อกหมดเลย ยิ่งสต๊อกมากเท่าไหร่ เงินก็ยิ่งขาดมากเท่านั้น

1.5.5 การใช้เงินผิดประเภท ใช้เงินลงทุนไปในโครงการที่เราคิดว่าจะได้เงินกลับเข้ามาเร็ว แต่ในทางปฎิบัติหรือความเป็นจริงลงทุนไปแล้ว มันไม่กลับเข้ามา หรือได้เงินกลับมาช้า 

2. แนวทางการบริหารเงินอย่างมีประสิทธิภาพ

การบริหารเงินอย่างมีประสิทธภาพ ต้องรู้ 3 ข้อ

2.1 ต้องมีการวางแผน แล้วพยากรณ์การใช้เงินก่อน ในรอบปี หรือรอบไตรมาส อีก 3 เดือน เราจะต้องมีค่าใช้จ่ายเงิน อย่างไรบ้าง แล้วเราจะมีการได้เงินมาอย่างไรบ้าง ก็คือจะขายได้เท่าไหร่ หรือจัดการในสต๊อกคงค้าง หรือลูกหนี้คงค้างอย่างไร เพราะฉะนั้นการพยากรณ์การใช้เงิน จำเป็นมาก ๆ เลย ที่จำเป็นต้องพยากรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ คือต้องพยากรณ์สมเหตุสมผลควบคู่ไปกับการทำงบประมาณ

2.2 ต้องมีการจัดหาเงิน เงินมีอยู่ 2 แหล่งเท่านั้นเองในโลกนี้ คือเงินกู้ จากสถาบันการเงินอะไรต่าง ๆ กับเงินของตัวเราเอง หรือเงินของเพื่อน ในแง่ของการร่วมลงทุน เมื่อเรามีการวางแผนแล้ว เราต้องมีการนำเสนอแผนงานการลงทุนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะอย่างนั้นแล้ว คนที่จะมาเป็นแหล่งเงินของเรา เขาไม่มาหรอก ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร สถาบันการเงิน หรือแม้กระทั่งหุ้นส่วนของเรา

2.3 ต้องมีการใช้เงินได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ตามแผนงานที่วางไว้แล้ว ผู้ประกอบการหลายท่าน วางแผนไว้แล้ว แต่เวลาการใช้เงินไม่เป็นไปตามแผนการ ใช้ตามใจเช่นวันดีคืนดีเห็นรถออกใหม่ อยากได้ท่านก็จะเอาเงินของกิจการไปซื้อ เหล่านี้ไม่ถูกต้อง การใช้เงินแบบผิดวัตถุประสงค์ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรมากมายประเมินค่าไม่ได้มานักต่อนักแล้ว เพราะฉะนั้นการใช้เงินให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ตัวนี้สำคัญมากกว่าการพยากรณ์ และการจัดหาเงินทุนเสียอีก

3. เทคนิคการบริหารเงิน

3.1 ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการใช้จ่ายเป็นแบบผันแปร

การบริหารกิจการของท่านควรพิจารณาการบริหารงานให้มีโครงสร้างต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายเป็นโครงสร้างผันแปรมากกว่าโครงสร้างคงที่ ค่าเช่าก็ดี ค่าจ้างพนักงานแบบคงที่ ก็คือพนักงานขายของท่านจ้างมาเดือนละ 1 หมื่น แต่เขาขายของไม่ได้สักชิ้นก็ต้องจ่าย 1 หมื่นอันนี้เรียกว่าคงที่ การหมุนมาเป็นค่าใช้จ่ายแบบผันแปร ก็คือท่านต้องจ่ายเขาแค่ 5 พันบาท เดิมจ่ายให้กิน 3 มื้อสบาย ๆ ได้เที่ยวด้วย เหลือแค่สักมื้ออีกสองมื้อต้องทำงานแลกกัน เพราะฉะนั้นยิ่งขายมากก็ได้มาก ยิ่งขายน้อยก็ได้น้อย เพราะฉะนั้นเขาก็เปลี่ยนจากลูกจ้างมาเป็นหุ้นส่วนของท่านโดยปริยาย ไม่จำเป็นต้องให้หุ้น ไม่จำเป็นต้องไปทำอะไรแต่อย่างใดเลย การบริหารให้มีต้นทุนแบบผันแปรก็เหมือนกับ ได้พนักงานเป็นหุ้นส่วนแล้ว ข้อสำคัญก็คือวางแผนตอบแทนเขา วางอย่างยุติธรรม ข้อประการสำคัญของผู้ประกอบกิจการหรือเถ้าแก่บางคน พอผันแปรไปแล้ว ธุรกิจมันเด้ง มากไปหน่อย ชักเสียดาย ชักติดเบรกแล้ว อย่าไปทำลาย โครงสร้างแบบนี้สำคัญ เขาคือพาร์ทเนอร์ของท่านโดยที่ไม่ต้องเสียหุ้นเลยแม้แต่หุ้นเดียว ให้ท่านบริหารแบบโครงสร้าง ผันแปร มากกว่าโครงสร้างคงที่

3.2 ควบคุมงบประมาณ

มีการวางแผนและควบคุมประเมิน วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้แผนการเงินไม่บรรลุและสร้างความรับผิดชอบร่วมกันของพนักงาน 

3.3 ลดการสูญเสียและความเสียหายของสินค้าโดยการควบคุมประสิทธิภาพการผลิด 

3.4 อย่าลงทุนผิดประเภท เพราะว่าการลงทุนผิดประเภทไม่การันตีถึงความสำเร็จเลย ถ้าเป็นไปได้ลดการลงทุนสินทรัพย์ลง เช่น รถปิคอัพ 1 คัน ใช้ไม่เคยเต็มที่เลย ขายทิ้งไปแล้วใช้รถร่วมกับชาวบ้าน จ่ายแพงนิดหนึ่งแต่ให้อยู่ในรูปของต้นทุนผันแปรดีกว่า 
ที่มา : http://www.classifiedthai.com/content.php?article=14485


หารายได้เพิ่มซะดีๆ ที่รัก


วิธีเก็บเงินที่ตรงไปตรงมาที่สุดจะเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากการประหยัดอดออม แต่ถ้าเขียมก็แล้ว นุ่งเจียมห่มเจียมก็แล้ว ยังเหี่ยวแห้งอยู่เหมือนเดิมคงต้องชวนกันหาช่องทางเพิ่มรายได้ในครัวเรือนกันสักทีถ้าคุณและสามีสุดเลิฟเป็นพนักงานบริษัทธรรมดาเหมือนๆ กับคนอีกหลายล้านคน รายได้แต่ละเดือนเท่าไหร่ก็เท่านั้น เมื่อต้องการเงินก็ต้องหางานเพิ่มเข้ามา แต่ติดอยู่ตรงที่ว่าเป็นมนุษย์เงินเดือนมาตลอด จะทอดปาท่องโก๋ขายบ้านก็อยู่ก้นซอยปลอดผู้คน หรือทำอะไรไม่เป็นสักอย่าง อย่าเพิ่งล้มเลิกความตั้งใจนะคะ ลองเริ่มศึกษาหาความรู้ดูว่าสองเราสามารถทำมาค้าขายหรือหาช่องทางไหนได้บ้าง

5 ช่องทางเพิ่มรายได้

  1. รายได้เพิ่มจากงานประจำ วิธีนี้ง่ายที่สุดเพราะถึงแม้จะขาดแคลนความสามารถด้านอื่นๆ แต่แน่นอนละว่างานที่ทำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันต้องเป็นสิ่งที่เชี่ยวชาญมากที่สุด ลองดูหน่อยสิคะว่าพอจะนำเอาความสามารถที่มีอยู่ไปรับจ๊อบได้มั้ย อย่างนักบัญชี นักคอมพิวเตอร์ ครู นักออกแบบ ฯลฯ ก็น่าจะพอไหว เริ่มจากเอ่ยปากถามญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูงใกล้ชิดก่อน เพราะส่วนใหญ่ลูกค้ามักเริ่มจากคนกันเองก่อนนะคะ แต่มีเรื่องมารยาทที่ต้องขอเตือนให้ระลึกไว้หน่อยก็คือ อย่าทำขยันอยู่ดึกเพราะมัวง่วนทำงานนอก หรือใช้อุปกรณ์สำนักงานกันมันส์มือ เพราะคนจ่ายเงินเดือนของคุณคงไม่ปลื้มเท่าไหร่ที่เราใช้ทั้งเวลาและอุปกรณ์ของเขาไปทำจ๊อบนอก เดี๋ยวจะได้รับเชิญให้ย้ายฐานการผลิตไปอยู่ที่อื่น คราวนี้ล่ะแทนที่จะมีรายได้เพิ่มรายได้ประจำกลับหดหายไปอีก
  2. กลับมาดูกิจกรรมของคนในครอบครัว ทางบ้านทำกิจการอะไรอยู่บ้าง บางทีช่องทางก็มาจากกิจการที่พ่อแม่พี่น้องเราทำอยู่ แม้อาจดูน่าเบื่อไม่อยากทำ หรือหากจะทำก็ต้องทำจริงๆ จังๆ เป็นงานหลักไม่ใช่รายได้เพิ่ม แต่ถ้ามองดูดีๆ ธุรกิจ SME หลายต่อหลายเจ้าก็แตกหน่อมาจากธุรกิจเดิมของครอบครัวทั้งนั้น จะเสียหายอะไรถ้าลองเริ่มต้นจากเล็กๆ ก่อน อย่างเช่น ที่บ้านทำโรงงานเสื้อยืด รุ่นลูกก็ใช้เศษผ้ามาทำตุ๊กตาขาย พ่อทำรองเท้าแตะฟองน้ำ ลูกเกิดไอเดียทำพวงกุญแจหรือพี่รับทำกล่องกระดาษ น้องก็มาออกแบบการ์ดขาย ฯลฯ ไม่แน่ว่าอาชีพเสริมอาจจะนำไปสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเองเข้าสักวัน
  3. อาศัยความสามารถเฉพาะตัว บางคนมีความสามารถเฉพาะตัวไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับงานที่ทำอยู่เท่าไหร่ สมมติว่าทำอาชีพอะไรอยู่ก็ไม่รู้ล่ะแต่ความรู้ภาษาต่างประเทศดีเลิศ ก็น่าจะลองติวเด็กข้างบ้าน รับแปลเอกสาร ฯลฯ บางคนมีฝีมือทำอาหารใครชิมเป็นต้องชมก็น่าจะลองคิดดูว่าจะแปลงฝีมือเป็นเงินได้อย่างไร หรือคนไหนพูดเก่งเป็น Entertainer เสาร์-อาทิตย์ก็เสนอตัวเป็นพิธีกรงานแต่งหรืองานปาร์ตี้บ้าง แรกๆ อาจได้รับกล่องรับซองตามแต่ศรัทธา แต่พอปากต่อปากอาจจะรับทรัพย์อื้อใครจะรู้ ลองค้นหาความสามารถเฉพาะตัวดูดีๆ อาจจะเจอะก็ได้นะคะ
  4. ผันงานอดิเรกให้เป็นเงิน นอกจากทำงานดูแลรับผิดชอบครอบครัวแล้วสิ่งที่คนเราอยากให้เวลากับมันมากๆ ก็คืองานอดิเรก อะไรก็ตามที่คนเราให้เวลามากก็เชี่ยวชาญมากไปโดยปริยาย เช่น ชอบปลูกต้นไม้ก็น่าจะคิดถึงเรื่องการปลูกต้นไม้ขายดู คนชอบสะสมของมีตั้งหลายคนที่นานๆ ไปก็เปลี่ยนสถานะเป็นคนขาย หรือคนชอบท่องเที่ยวมีกล้องก็ถ่ายภาพและเขียนบันทึกไว้ อย่าเก็บงำความประทับใจไว้คนเดียวลองส่งไปสำนักพิมพ์ต่างๆ ก็ทำให้มีมูลค่าขึ้นมา ฯลฯ
  5. สำรวจตลาด สำหรับคนคิดไม่ออกจริงๆ คงต้องหาอ่านจากในหนังสือว่ามีอาชีพอะไรบ้างที่น่าสนใจเดินทางไปไหนก็สังเกตว่ามีอะไรที่น่าลองทำบ้าง หาเวลาพูดคุยกับคนอื่นๆ เผื่อจะได้ปิ๊งไอเดียขึ้นมา หรืออ่านหนังสือพิมพ์เห็นที่ไหนเปิดคอร์สสอนวิชาชีพอะไรก็ลองไปลงเรียนดู ลองหัดทำจนชำนาญมั่นใจแล้วค่อยเปิดร้านหรือตั้งรถเข็นขายวันเสาร์-อาทิตย์ เพื่อช่วยเก็บเงินเก็บทองกันสองเรา
    ทางเลือกมีตั้งหลายทาง ตกลงกันให้ได้ว่าจะเลือกอาชีพเสริมแนวไหน แล้วก็เริ่มลงมือหารายได้เสริมให้กับครอบครัวกันเลยนะคะ
(นารา อาทิตย์รัก, นิตยสารดวงใจพ่อแม่ ปีที่ 12 ฉบับ 138 เมษายน 2549)
หนังสือนิตยสารดีๆ ที่มีประโยชน์ต่อคนไทยหลายๆ คน คุณจึงไม่ควรพลาด!

ที่มา :  http://www.suretax-accounting.com/articles/finance/67-2008-06-13-04-16-47.html

6 เคล็ดลับ ดูแลเรื่องการเงิน


  เราสรรหาเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ เพื่อช่วยดูแลการเงินให้คุณมาตลอด และนี่คือ 6 เคล็ดลับที่เราเลือกสรรแล้วว่า จะช่วยคุณดูแลเรื่องการเงินได้ตลอดกาลไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นไรก็ตาม

        1. เก็บเรื่องเงินไว้เป็นความลับ จะหาว่าเป็นคนชอบอุบก็ยอม ให้คุณปกปิดบัญชีลับเอาไว้บ้าง โดยไม่ต้องบอกให้เพื่อน สามี หรือแฟนหนุ่มของคุณรับทราบ เนื่องจากนั่นเป็นเงินของคุณไม่ใช่ของเขา คนเราต้องมีเงินลับๆ กันบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุน เช่น หุ้น ทองคำ คุณควรมีติดตัวไว้บ้างเผื่อวันหน้ายามยากไม่มีใครช่วยเราได้ จะได้นำเงินส่วนนี้ออกมาจุนเจือตนเอง

        2.  อย่าใช้เงินเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดี ยามที่คุณอกหัก เครียดกับงาน ทะเลาะกับเพื่อน สิ่งแรกที่คุณจะคิดถึงต้องไม่ใช่การช้อปปิ้งเสมอไป จริงอยู่ว่าคุณควรจะให้รางวัลตัวเองหรือทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นบ้าง แต่นั่นเป็นการใช้เงินที่ผิดวิธีที่สุด เพราะเชื่อมั้ยว่ายามที่คุณใช้เงินเพื่อสร้างความสุขให้แก่ตัวเองนั้น ความสุขมักจะอยู่กับคุณไม่นาน แต่หนี้ที่พอกพูนจะอยู่กับคุณไปนานแสนนาน

        3. ใช้ให้น้อยกว่าที่หามาได้ ประโยคคลาสสิกที่ทำกันได้ยากเหลือเกิน ถ้าคุณอยากมีความมั่นคงทางการเงินก็ควรจะเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ได้แล้ว เพราะมันเป็นกุญแจที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้คุณมีเงินเก็บเป็นกอบเป็นกำใช้ให้น้อยกว่าที่หามาได้เป็นการดีที่สุด

        4. ตั้งเป้าหมายชีวิต การออมเงินให้มีประสิทธิภาพ คุณควรจะตั้งเป้าหมายไว้เพื่อเป็นกำลังใจบ้าง อย่างเช่นถ้าฉันเก็บเงินได้ 500,000 บาท จะแบ่งเงินมาเปิดร้านกาแฟของตัวเอง เรียนต่อเมืองนอก ซื้อรถ หรือซื้อคอนโดฯ สิ่งใดก็ได้ที่เป็นความฝันของคุณ ยิ่งจะทำให้คุณมีกำลังใจในการเก็บเงินมากขึ้นไปเท่านั้น

        5. วางแผนการเงินแบบวันต่อวัน ไม่ว่าคุณจะเป็นนักศึกษาหรือมีครอบครัวแล้วก็ตาม การจัดการแพลนการเงินแบบวันต่อวันนั้นได้ผลมากๆ เพราะจะทำให้คุณรู้ได้ว่าเงินที่เสียไปอยู่ตรงไหนบ้าง เพื่อจะได้ลดการใช้เงินตรงนั้นลง คุณอาจจะทำเป็นบัญชีเล่มเล็กๆ ไว้ เวลาสรุปยอดตอนกลางคืน อาจจะตกใจว่าทำไมฉันใช้จ่ายไปมากมายขนาดนี้

        6. การใช้เงินคือทัศนคติ การเงินเป็นทัศนคติและความเชื่อส่วนตัว เช่น บางคนเชื่อว่าใช้ไปเถอะเดี๋ยวเงินมันก็มา แต่บางคนเชื่อว่าต้องมีคนคอยเก็บออมให้ดีกว่า เพราะถ้าอยู่กับตัวเองอาจจะหมดได้ง่ายๆ สรุปแล้วคุณคิดว่าวิธีไหนปลอดภัยและไม่ทำให้คุณเดือดร้อนก็จงทำเถิด แต่อย่าพยายามหาข้ออ้างในการใช้เงินหรือรอเงินที่ยังมาไม่ถึง ปรับความคิด ปรับนิสัยใช้จ่าย แล้วการเงินของคุณจะมั่นคงขึ้นไม่ต้องมานั่งเครียดทุกสิ้นเดือน


ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/35641

สอนลูกให้รู้ค่าของเงิน


... อยากให้ลูกสั่งสมทักษะชีวิตแบบไหน อยู่ที่ผู้ใหญ่จะเป็นตัวอย่างให้ดู ให้ลูกรับผิดชอบการใช้เงินด้วยตัวเอง การกำหนดค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน หรือรายสัปดาห์ ... อยากให้ลูกสั่งสมทักษะชีวิตแบบไหน อยู่ที่ผู้ใหญ่จะเป็นตัวอย่างให้ดู ให้ลูกรับผิดชอบการใช้เงินด้วยตัวเองการกำหนดค่าใช้จ่ายให้ลูกอย่างเหมาะสมในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ เช่น รายอาทิตย์ รายเดือน เป็นการเริ่มต้นฝึกให้ลูกมีความรับผิดชอบขั้นพื้นฐาน ควรสอนให้เด็กรู้จักประเมินการใช้เงินรายวัน และจัดสรรการใช้จ่ายด้วยตัวเอง วันใดจ่ายมากก็ต้องยอมรับสภาพว่าอีกวันต้องอดบ้าง เพื่อเรียนรู้ผลการใช้เงินเกินข้อตกลง


รางวัลมิใช่สิ่งของเสมอไป
การแสดงความชื่นชมลูกเมื่อเขาทำสิ่งที่ดีใช่ว่าจะต้องให้ของขวัญราคาแพงเสมอไป รางวัลสำหรับลูกอาจเป็นคำชมเชย จดหมายน้อยสักหนึ่งฉบับ ดาวทีละดวง ครบห้าดวงเปลี่ยนเป็นไอศครีม 1 มื้อ เป็นต้น ควรคิดค้นวิธีการให้เด็กตื่นเต้นประทับใจ เช่น การส่งจดหมายถึงเด็กทางไปรษณีย์ แทนที่จะยึดแค่ความสะดวกสบาย โดยการให้รางวัลด้วยวัตถุเป็นหลัก

ไปห้างสรรพสินค้าเมื่อจำเป็น
การพาครอบครัวไปพักผ่อนด้วยการตากแอร์เย็นๆ ที่ห้างสรรพสินค้า อาจจะให้ผลได้ไม่เท่าเสีย เพราะสภาพแวดล้อมของห้างสรรพสินค้ามี แต่สิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เด็ก และผู้ใหญ่อดใจไม่ไหว การไป แต่ละครั้งอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า เป็นการเพาะนิสัยการบริโภคให้ลูกในความถี่ที่น่าเป็นห่วง

จ่ายกันคนละครึ่ง... ดีไหม
คุณพ่อคุณแม่หลายรายใช้หลักจ่ายกันคนละครึ่งกับลูก เพื่อฝึกให้ลูกรู้จักเก็บเงิน และหากต้องการสิ่งใดจะได้รับผิดชอบจ่ายด้วยตัวเองบ้าง อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง แต่ก็ต้องระวัง โดยการกำหนดกติกาว่าพ่อแม่จะหารด้วยในกรณีที่เป็นของจำเป็นจริงๆ เท่านั้น และระบบหารครึ่งนี้ จะไม่มีเงินผ่อนเด็ดขาด


สิ่งสำคัญที่อยากฝากถึงคุณพ่อคุณแม่

อย่ารู้สึกผิดที่ไม่มีเวลาให้ลูก สงสารลูกที่ลูกหัวไม่ดี สงสารลูกที่เขาเจ็บป่วยเรื้อรัง แล้วจะไปชดเชยหรือทดแทนให้เขา ด้วยการซื้อของ หรือ ให้เงินแบบไม่มีกฎเกณฑ์ เงินจำนวนมากหรือของเล่นราคาแพงไม่สามารถทดแทนความรู้สึก ‘ขาด’ ในใจลูกได้ เพราะเราทำให้เขา ‘อิ่ม’ ได้ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ค่ะ


(หนังสือนิตยสาร life&family ฉบับวันที่ 22 สิงหาคม 2540)
หนังสือนิตยสารดีๆ ที่มีประโยชน์ต่อคนไทยหลายๆ คน คุณจึงไม่ควรพลาด!

ที่มา : http://www.suretax-accounting.com/articles/finance/102-2008-06-28-10-20-57.html

คนข้างๆๆอาจจะไม่อยู่ข้างๆๆเราเสมอไป


อ้างอิง:http://www.youtube.com/watch?v=6Df3d75YgXM

เอชเอสบีซี และกระทรวงการคลัง ฉลองความสำเร็จในการออกพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ!!!


เอชเอสบีซี และกระทรวงการคลัง ฉลองความสำเร็จในการออกพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ


      ธนาคารเอชเอสบีซี ในฐานะที่ปรึกษาด้านการออกพันธบัตร ผู้ประสานงานในระดับโลก และผู้จัดจำหน่ายหลักของพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ ร่วมกับกระทรวงการคลัง ฉลองความสำเร็จในการออกพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อครั้งแรกของประเทศไทยนี้ ได้รับความสนใจจองซื้ออย่างล้นหลามจากนักลงทุนสถาบันและรายย่อยทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ การออกพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ อายุ 10 ปี มูลค่า 40,000 ล้านบาทครั้งนี้ ยังเป็นการออกพันธบัตรในสกุลเงินบาทที่มีมูลค่ามากที่สุดอีกด้วย(ในภาพ) นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล (กลาง) ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ดร.พิมพ์เพ็ญ ลัดพลี (ที่ 2 จากซ้าย) รักษาการผู้อำนวยการสำนักพัฒนาตลาดตราสารหนี้ และผู้อำนวยการส่วนพัฒนาตลาดตราสารหนี้รัฐบาล สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง นายปัญญา จรรยารุ่งโรจน์ (ที่ 2 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริหารเงินและตลาดทุน และนายธนพจน์ ภาคสุวรรณ (ซ้ายสุด) ผู้อำนวยการบริหาร ฝ่ายสินเชื่อธุรกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย ร่วมฉลองความสำเร็จของการออกพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อเป็นครั้งแรกของประเทศไทย


ที่มา :  http://www.moneyandbanking.co.th/hotnews.php?defTab2=0&isb=isb003|6&newsID=1053

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก

บล็อกนี้เป็นบล็อกส่วนตัว ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาอินเตอร์และการสื่อสารในชีวิตประจำวัน กลุ่ม 10