คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ... คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ... คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบงก์ชาติพัฒนาระบบชำระเงินอิเล็คทรอนิกส์รับ AEC

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เป็นประธานในงาน “66 ปี ระบบการหักบัญชีเช็คไทย และก้าวต่อไป” เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2555 เนื่องจากประเทศไทยได้เริ่มใช้งานระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (Imaged Cheque Clearing and Archive System หรือ ICAS) เมื่อวันที่3 กุมภาพันธ์ 2555 เป็นต้นมา ซึ่งถือเป็นพัฒนาการที่สำคัญของระบบการชำระเงิน
นายประสาร กล่าวว่า การใช้งานระบบ ICAS ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาได้ครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นไปด้วยดีตามที่คาดหวัง และ ธปท. มีเป้าหมายต่อไปในการขยายระบบ ICAS ทั่วประเทศ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียกเก็บเช็คข้ามจังหวัด จากที่ใช้เวลา 3-5 วันทำการในการเรียกเก็บ ลดเวลาเหลือ 1 วันทำการ ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้การหมุนเวียนของเงินในระบบ เพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และน่าเชื่อถือ
นอกจากนั้น นายประสาร ได้กล่าวถึงบทบาทของ ธปท. ในด้านการกำหนดนโยบายการพัฒนาระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทดแทนการใช้เงินสด โดยมีหลักการสำคัญ คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศ ได้แก่ Local Switching และการส่งเสริมบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เช่น ส่งเสริมการใช้บัตรเดบิตแทนเงินสด ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการกำกับดูแลระบบการชำระเงินและธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมด้วย

สำหรับการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 นี้ นายประสาร กล่าวว่า ธปท. มีนโยบายที่จะพัฒนาการให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย ในต้นทุนที่เหมาะสม และมีความมั่นใจในความปลอดภัย ซึ่งจะทำควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบ และโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบการชำระเงินต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานกลางที่จะใช้ในกลุ่มประเทศอาเซียน

บริหารการเงินเพื่อชีวิตที่พอเพียง

 เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การลงทุนทำมาค้าขาย หาอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ โดยอาจต้องลงทั้งทุน ลงทั้งแรง หรือศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อเป้าหมายในการเพิ่ม เงินเดือน หรือหาโอกาสก้าวหน้าขึ้นในอนาคต โดยรายได้ในแต่ละเดือนของครอบครัว ควรจัดสรรใช้จ่ายอย่างเหมาะสม เช่น ค่าที่อยู่อาศัย ไม่ควรให้มีการผ่อนชำระเกิน 30% ของรายได้ครอบครัว หรือถ้าจะก่อหนี้เงินกู้เพื่อซื้อรถยนต์ ก็ไม่ควรให้มีภาระการผ่อนชำระเกิน 15% ของรายได้ครอบครัว นอกจากนั้น ค่าอาหารแบ่งใช้ไป 25% ค่าเนื้อผ้าและค่าเดินทาง 10% ค่าสาธารณูปโภค 5% ค่ารักษาพยาบาล 5% และที่สำคัญอย่าลืมเก็บเงินออมหรือเงินทุน 5-10% ของรายได้ต่อครอบครัว
    
       ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้    
       การลดรายจ่าย คือการฉลาดใช้สิ่งของต่างๆ รอบตัวให้เกิดประโยชน์สูงสุด และต้องฉลาดซื้อด้วยเลือกซื้อแต่สินค้าที่คุ้มค่าคุ้มประโยชน์ และฉลาดใช้ด้วยการรักษาสิ่งของต่างๆ ให้คงอยู่ในสภาพที่เหมาะกับการใช้งานได้นานๆ รวมถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายจำพวก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ที่สำคัญคือการฉลาดใช้ชีวิต ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง สมบูรณ์ เพราะการเจ็บป่วย ย่อมนำไปสู่ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
    
       วางแผนเกษียณอายุ    
       เพราะเราไม่ได้มีแรงทำงานไปตลอดชีวิต เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ต้องหยุดทำงาน ดังนั้น การวางแผนการเงินในช่วงเกษียณอายุการทำงานจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม
       การหาระยะเวลาแห่งช่วงชีวิต ปัจจุบันนี้มนุษย์มีอายุเฉลี่ยอยู่ได้ถึง 72-75 ปี และด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ปัจจุบัน ทำให้มนุษย์มีอายุนานขึ้น ซึ่งอาจบวกเพิ่มได้ถึง 20 ปีจากค่าเฉลี่ยนั้น สิ่งที่ควรคำนึงในการเก็บเงินเพื่ออายุช่วงเกษียณคือระดับเงินเฟ้อ ที่มีแนวโน้มหรือคาดว่าน่าจะเป็นไปในช่วงเวลาของการเกษียณอายุ ซึ่งอาจทำให้เงินออมที่คุณหามาด้วยความยากลำบากในแต่ละปี ด้อยค่าลงอย่างช่วยไม่ได้
    
       ดังนั้นเราต้องการเงินประมาณ 70-75% ของรายได้ก่อนการเกษียณอายุ เพื่อเอาไว้เป็นค่าใช้จ่ายยามเกษียณอายุ โดยเฉพาะ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพที่จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเราแก่ตัวลง โดยจำนวนเงินนี้อาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวิถีหรือไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน
    
       บันทึกค่าใช้จ่าย    
       เคยคิดบ้างไหม ว่าทำไมเงินที่หามาทั้งเดือนหมดไปอย่างรวดเร็ว สาเหตุก็คือ เพราะเราขาดความยับยั้งชั่งใจใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น ขาดการวางแผนการใช้เงินที่ดี มารู้ตัวอีกทีก็ไม่มีจะจ่ายแล้ว...
    
       หากอยากปรับเปลี่ยนการใช้จ่ายให้รัดกุมกว่าเดิม วิธีง่ายที่สุดคือต้องบันทึกค่าใช้จ่ายทุกบาท ทุกสตางค์ ที่จ่ายออกไปในแต่ละวัน หมั่นสร้างหลักฐานเตือนตัวเองให้เห็นว่าในแต่ละเดือนมีค่าใช่จ่ายอะไรบ้างที่จำเป็น และไม่จำเป็น เพื่อจะได้รู้ว่าค่าใช้จ่ายสิ่งไหนควรตัดทิ้งไปในเดือนต่อไป
    
       บริหารเงินออม    
       สุดท้ายเมื่อคุณสามารถบริหารรายได้ และค่าใช้จ่ายของคุณอย่างรัดกุมแล้ว เงินส่วนที่คุณเก็บได้คือเงินออม โดยอาจนำไปฝากธนาคาร ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต หรือนำไปลงทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนมากว่าเงินเฟ้อที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือจะเพิ่มขึ้นในอนาคต
    
       นำเงินไปฝากธนาคาร คงเป็นวิธีบริหารเงินออมที่ดีอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งผู้ออมจะได้รับดอกเบี้ยจากการฝากเงิน จำนวนดอกเบี้ยที่ได้รับก็ขึ้นอยู่กับประเภทของการฝาก เช่น เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ หรือเงินฝากกระแสรายวัน ผู้ออมควรเลือกประเภทเงินฝากให้เหมาะกับตัวเอง หากต้องการใช้เงินบ่อยครั้งต่อวัน ก็เลือกฝากเงินแบบออมทรัพย์ ซึ่งสามารถฝาก-ถอน ได้หลายครั้งต่อวัน ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยรายวัน แต่กรณีที่ต้องการดอกเบี้ยมากกว่าการฝากแบบออมทรัพย์ ผู้ออมสามารถเลือกฝากเงินแบบฝากประจำ ซึ่งมีระยะเวลาในการฝากต่างกัน เช่น 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน หรือฝากประจำรายเดือนยกเว้นภาษี แต่หากต้องการใช้เช็คในการสั่งจ่าย ก็สามารถใช้บริการแบบเงินฝากกระแสรายวัน
    
       หากใครที่ต้องการนำเงินไปลงทุน ก็ต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเอง อย่างการเปิดร้าน หรือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่เลือกที่จะลงทนในตราสารทางการเงิน เช่นลงทุนในหุ้น ลงทุนในตราสารหนี้ หรือลงทุนในกองทุนรวม ดังนั้น อย่าลืมคำนึงถึงความเสี่ยงในการลงทุน และศึกษาให้ดีเสียก่อนที่จะตัดสินใจเริ่มลงทุน โดยหาข้อมูลได้จากสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือหาข้อมูลการลงทุนตราสารทางการเงินได้ที่สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    
       ข้อมูล : คู่มือชีวิตพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ

บันไดสู่ความสำเร็จทางการเงิน

การบริหารเงิน


บริหารการเงิน


การบริหารการเงิน คือกระบวนการดูแลกระแสการเงิน ให้ธุรกิจมีความคล่องตัว มีเงินสดไว้ใช้จ่ายในยาม
ที่ต้องการเม็ดเงิน หลายบริษัท ผลดำเนินการมีกำไร ทุกเดือน แต่ปรากฏว่าขาดเงินสดที่จะมาจ่ายให้กับ
เจ้าหนี้ หรือ มาจ่ายค่าใช้จ่ายบริษัท บางบริษัทมีรายได้จ่ายการขายมากมาย แต่ไม่สามารถเก็บเงินได้ 
ทำให้เกิดภาวะการเงินที่เสี่ยงต่อการไม่มีเงินที่จ่ายหนี้สิน ดังนั้นจะพบว่าถึงบริษัท มีผลการดำเนินการดี
แต่อาจมีปัญการด้านการเงินได้ เราจึงควรมาศึกษาถึงกระบวนการบริหารการเงิน ก่อนอื่นเรามาทำ
ความรู้จักกับ เม็ดเงินก่อน

เม็ดเงิน ประกอบด้วย ตราสารทางการเงิน 2 ชนิด

 1. เม็ดเงินสด คือ ตราสารที่ทางรัฐจัดทำขึ้น เพื่อใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยน เรเรียกว่า เงินมีหลายแบบ 
หลายขนาด มีมูลค่าใช้แลกเปลี่ยน กับสินค้า สิ่งของ มูลค่า 1000 บาท 500 บาท 100 บาทหรือที่เป็นเหรียญ
กลมทำด้วยโลหะ มูลค่า 10 บาท 5 บาท เป็นต้น

2.เม็ดเงินที่เป็นตราสารทางการเงิน คือ กระดาษ ชนิดที่มีข้อความ ต่างๆแสดงมูลค่าของตราสารเพื่อ
การแลกเปลี่ยน ดำเนินการโดย บริษัทเอกชน ภายใตการควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทยและกฏหมาย 
พรบ การเงิน เช่น เช็ค ตั๋วเงิน สัญญาทางการเงินต่างๆ แต่ที่เป็นที่รู้จัดกัน คือ เช็คและตั๋วเงินต่างๆ 
ดังนั้นการบริหารการเงินจึงเกี่ยวข้องกับ เม็ดเงิน ทั้ง 2 ตัวนี้เอง จะทำอย่างไร จึงจะมีเม็ดเงินมาใช้จ่ายในบริษัท 
การบริหารการเงินจึงมีปัญหาตั้งแต่ระดับบุคคล นิติบุคคล และรัฐ บางครั้งเราได้ยินว่ารัญไม่มีเงินในคลัง บางบริษัท 
ซื้อสินค้าแล้วไม่จ่ายเงิน หรือจ่ายเช็ค แล้วเช็คเด้งต่อไปเรามาคุยกันเรื่องการบริหารทางการเงิน ซึ่ง 
ภาษาชาวบ้านเรียกการหมุนเงิน ภาษาทางการเงินเรียกว่ากระแสการเงิน คือ เม็ดเงินที่เราสามารถหยิมมาใช้ได้ 
ทันที เร็วบ้าง ช้าบ้าง

การบริหารกระแสการเงินนี้มีองค์ประกอบที่ต้องดูแลดังนี้

ทรัพย์สินหมุนเร็ว ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. เงินสดในมือ และ เงินฝากธนาคาร ทั้งนี้รวมถึงวงเงิน กู้เบิกเกินบัญชี OD และเช็ครับในมือ ลงวันที่ล่วงหน้า 
ว่ามีปริมาณมากน้อยเท่าใด

2.ลูกหนี้ค้างรับ ที่มีDueรับเงินระยะสั้น และเครดิตเทอม ที่เราให้กับลูกค้า หลังการขาย ระยะเวลาเก็บเงิน กี วัน
เช่น 30 วัน 60 วัน และความสามารถในเก็บเงิน จากลูกหนี้ ว่ามีลูกหนี้ค้าง เกินกำหนดมากน้อยเพียงใด 
และรายได้ค้างรับต่างๆ

หนี้สินหมุนเร็ว ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

1.ค่าใช้จ่ายประจำ ในสำนักงาน ในการบริหารงาน เช็คจ่ายล่วงหน้าที่ยังไม่ได้ขึ้นเงิน

2.เจ้าหนี้การค้าค้างจ่าย ที่กำลังครบ Due จ่ายเงิน กับระยะเวลา เครดิต เทอม ที่บริษัทได้จากร้านค้า เงิน 30 วัน 
60 วันการบริหารการเงินที่มีประสิทธิภาพคือ บริมาณเดเงิน ในช่วงเวลาเดียวกันระหว่าง ทรัพย์สินหมุนเร็ว กับ 
หนี้สินหมุนเร็วต้องมีอัตราส่วน มากกว่า 1 กล่าวคือ เม็ดเงินรับหมุนเร็วต้องมากกว่า เม็ดเงินจ่ายหมุนเร็ว 
ในช่วงเวลาเดียวกันเรืองนี้ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ดังนั้นฝ่ายบริหารต้องทำนโยบาย บริหารที่เข้มงวด
กับระบบการเงินบริษัท วงเงินรวมลูกหนี้ทั้งหมดหมุนเวียน ควรมากกว่า เจ้าหนี้หมุนเวียน ซึ่งในทางปฏิบัติทำยากมาก
เนื่องจากรายจ่ายจะมาเร็วกว่า รายได้โดยธรรมชาติ ซื้อสินค้ามาขาย หรือผลิต ต้องจ่ายเงินก่อน กว่าจะผลิตเสร็จ 
กว่าจะขายได้ กว่าจะเก็บเงินได้ รอบการเงินรับจะยาวกว่า รอบการเงินจ่าย ดังนั้นอัตรส่วนระหว่าง เงินลงทุน 
และหนี้สิน ต่อยอดขายรวม จึงมีผลต่อการบริหารกระแสการเงินอย่างยิ่ง ยิ่งกิจการใหญ่โตขึ้นเท่าไร 
ก็ต้องการกระแสเงินทุนมากเท่านั้น และการแก้ปัญหา กระแสการเงิน ผู้ประกอบการมักหักไปหาเงินกู้ยืมมาช่วย 
ซึ่งการกู้ยืม ต้องมีค่าใช้จ่าย และระยะเวลา คืนเงิน ดังนั้นการกู้ยืม ไม่ไช่วิธีการแก้ปัญหา กระแสการเงินระยะยาว 
เป็นเพียงการแก้ปัญหาระยะสั้นเท่านั้น การแก้ปัญหากระแสการเงิน ต้อยมาจากนโยบายที่ชัดเจนและเข้มงวด 
และควรไปแก้ที่การบริหาร ต้นทุน บริหารค่าใช้จ่าย บริหารคลังสินค้า และบริหารมวลรวมยอดซื้อยอดขาย 
ซี่งต้องจัดทำแผนบริหารงาน และต้องดำเนินการควบคุมอย่างเคร่งคัด กล่าวคือ ถ้าเงินหมุนเข้ามากกว่าเงินหมุนออก 
ปัญหาสภาพคล่องจะไม่เกิดขึ้น ซึ่งมักเกิดจากรอบของสินค้าเข้าช้ากว่ารอบสินค้าออกอีกเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาประแส
การเงินคือหลายธุรกิจ ทำมาคิดแล้วมีกำไร แต่กลับมีปัญหากระแสการเงิน คือ การใช้จ่ายเงินผิดประเภท เช่น 
กู้เงินมาเพื่เป็นเงินหมุนเวียน แต่กลังไปซื้อทรัพย์สิน บางท่านบอกซื้อเงินฝ่อน กิจการก็ดูมีกำไร 
แต่ไม่รู้เงินไปไหนหมด ถ้ามีการทำบัญชีที่สมบูรณ์แล้ว จะพบว่า เงินหมุนเวียน ถูกดูดไปกับการซื้อทรัพย์สิน
คือเอาเงินหมุนเวียนไปซื้อทรัพย์สิน เวลาต้องการเงิน ขายทรัพย์สินไม่ทัน และมีค่าใช้จ่ายด้วย 
จึงเป็นข้อควรระวังสำหรับผู้ประกอบการข้อหนึ่ง

สรุป การบริหารการเงิน คือ การควบคุม ตรวจสอบ ฐานะปริมาณ ของทรัพย์สิน หมุนเร็ว และ หนี้สินหมุนเร็ว 
ว่ามีการหมุนเวียนสอดคล้องกันหรือไม่ ถ้กระแสสินทรัพย์หมุนเร็วมากกว่า หนี้สินหมุนเร็ว แสดงว่าสถานะการการเงินดี 
แต่ถ้ากระแสสินทรัพย์หมุนเร็ว น้อยกว่า หนี้สินหมุนเร็ว แสดงว่าสถานะการการเงินต้องรีบแก้ไข อาจจำเป็นต้องหา
เงินกู้ยืมมาช่วยชั่วคราวแต่อย่าลือ ว่าต้องระยะสั้นเท่านั้น ( จำไว้ ดู เงินสด เงิน ฝากธนาคาร เช็ครับล่วงหน้า 
ลูกหนี้ค้างจ่าย เทียบกับ เช็คจ่ายล่วงหน้า ค่าใชจ่ายประจำต่างๆ เงินผ่อนชำระเงินกู้ระยะยาว 
ดูล่วงหน้าประมาณ 1-2 สัปดาห์ ไปข้างหน้า และปัญหาทางการเงินจะลดลง















การไถ่ถอนพันธบัตรครบอายุ

จากมนุษย์เงินเดือนสู่มหาเศรษฐี