คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ... คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ... คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การบริหารเงิน


บริหารการเงิน


การบริหารการเงิน คือกระบวนการดูแลกระแสการเงิน ให้ธุรกิจมีความคล่องตัว มีเงินสดไว้ใช้จ่ายในยาม
ที่ต้องการเม็ดเงิน หลายบริษัท ผลดำเนินการมีกำไร ทุกเดือน แต่ปรากฏว่าขาดเงินสดที่จะมาจ่ายให้กับ
เจ้าหนี้ หรือ มาจ่ายค่าใช้จ่ายบริษัท บางบริษัทมีรายได้จ่ายการขายมากมาย แต่ไม่สามารถเก็บเงินได้ 
ทำให้เกิดภาวะการเงินที่เสี่ยงต่อการไม่มีเงินที่จ่ายหนี้สิน ดังนั้นจะพบว่าถึงบริษัท มีผลการดำเนินการดี
แต่อาจมีปัญการด้านการเงินได้ เราจึงควรมาศึกษาถึงกระบวนการบริหารการเงิน ก่อนอื่นเรามาทำ
ความรู้จักกับ เม็ดเงินก่อน

เม็ดเงิน ประกอบด้วย ตราสารทางการเงิน 2 ชนิด

 1. เม็ดเงินสด คือ ตราสารที่ทางรัฐจัดทำขึ้น เพื่อใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยน เรเรียกว่า เงินมีหลายแบบ 
หลายขนาด มีมูลค่าใช้แลกเปลี่ยน กับสินค้า สิ่งของ มูลค่า 1000 บาท 500 บาท 100 บาทหรือที่เป็นเหรียญ
กลมทำด้วยโลหะ มูลค่า 10 บาท 5 บาท เป็นต้น

2.เม็ดเงินที่เป็นตราสารทางการเงิน คือ กระดาษ ชนิดที่มีข้อความ ต่างๆแสดงมูลค่าของตราสารเพื่อ
การแลกเปลี่ยน ดำเนินการโดย บริษัทเอกชน ภายใตการควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทยและกฏหมาย 
พรบ การเงิน เช่น เช็ค ตั๋วเงิน สัญญาทางการเงินต่างๆ แต่ที่เป็นที่รู้จัดกัน คือ เช็คและตั๋วเงินต่างๆ 
ดังนั้นการบริหารการเงินจึงเกี่ยวข้องกับ เม็ดเงิน ทั้ง 2 ตัวนี้เอง จะทำอย่างไร จึงจะมีเม็ดเงินมาใช้จ่ายในบริษัท 
การบริหารการเงินจึงมีปัญหาตั้งแต่ระดับบุคคล นิติบุคคล และรัฐ บางครั้งเราได้ยินว่ารัญไม่มีเงินในคลัง บางบริษัท 
ซื้อสินค้าแล้วไม่จ่ายเงิน หรือจ่ายเช็ค แล้วเช็คเด้งต่อไปเรามาคุยกันเรื่องการบริหารทางการเงิน ซึ่ง 
ภาษาชาวบ้านเรียกการหมุนเงิน ภาษาทางการเงินเรียกว่ากระแสการเงิน คือ เม็ดเงินที่เราสามารถหยิมมาใช้ได้ 
ทันที เร็วบ้าง ช้าบ้าง

การบริหารกระแสการเงินนี้มีองค์ประกอบที่ต้องดูแลดังนี้

ทรัพย์สินหมุนเร็ว ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. เงินสดในมือ และ เงินฝากธนาคาร ทั้งนี้รวมถึงวงเงิน กู้เบิกเกินบัญชี OD และเช็ครับในมือ ลงวันที่ล่วงหน้า 
ว่ามีปริมาณมากน้อยเท่าใด

2.ลูกหนี้ค้างรับ ที่มีDueรับเงินระยะสั้น และเครดิตเทอม ที่เราให้กับลูกค้า หลังการขาย ระยะเวลาเก็บเงิน กี วัน
เช่น 30 วัน 60 วัน และความสามารถในเก็บเงิน จากลูกหนี้ ว่ามีลูกหนี้ค้าง เกินกำหนดมากน้อยเพียงใด 
และรายได้ค้างรับต่างๆ

หนี้สินหมุนเร็ว ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

1.ค่าใช้จ่ายประจำ ในสำนักงาน ในการบริหารงาน เช็คจ่ายล่วงหน้าที่ยังไม่ได้ขึ้นเงิน

2.เจ้าหนี้การค้าค้างจ่าย ที่กำลังครบ Due จ่ายเงิน กับระยะเวลา เครดิต เทอม ที่บริษัทได้จากร้านค้า เงิน 30 วัน 
60 วันการบริหารการเงินที่มีประสิทธิภาพคือ บริมาณเดเงิน ในช่วงเวลาเดียวกันระหว่าง ทรัพย์สินหมุนเร็ว กับ 
หนี้สินหมุนเร็วต้องมีอัตราส่วน มากกว่า 1 กล่าวคือ เม็ดเงินรับหมุนเร็วต้องมากกว่า เม็ดเงินจ่ายหมุนเร็ว 
ในช่วงเวลาเดียวกันเรืองนี้ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ดังนั้นฝ่ายบริหารต้องทำนโยบาย บริหารที่เข้มงวด
กับระบบการเงินบริษัท วงเงินรวมลูกหนี้ทั้งหมดหมุนเวียน ควรมากกว่า เจ้าหนี้หมุนเวียน ซึ่งในทางปฏิบัติทำยากมาก
เนื่องจากรายจ่ายจะมาเร็วกว่า รายได้โดยธรรมชาติ ซื้อสินค้ามาขาย หรือผลิต ต้องจ่ายเงินก่อน กว่าจะผลิตเสร็จ 
กว่าจะขายได้ กว่าจะเก็บเงินได้ รอบการเงินรับจะยาวกว่า รอบการเงินจ่าย ดังนั้นอัตรส่วนระหว่าง เงินลงทุน 
และหนี้สิน ต่อยอดขายรวม จึงมีผลต่อการบริหารกระแสการเงินอย่างยิ่ง ยิ่งกิจการใหญ่โตขึ้นเท่าไร 
ก็ต้องการกระแสเงินทุนมากเท่านั้น และการแก้ปัญหา กระแสการเงิน ผู้ประกอบการมักหักไปหาเงินกู้ยืมมาช่วย 
ซึ่งการกู้ยืม ต้องมีค่าใช้จ่าย และระยะเวลา คืนเงิน ดังนั้นการกู้ยืม ไม่ไช่วิธีการแก้ปัญหา กระแสการเงินระยะยาว 
เป็นเพียงการแก้ปัญหาระยะสั้นเท่านั้น การแก้ปัญหากระแสการเงิน ต้อยมาจากนโยบายที่ชัดเจนและเข้มงวด 
และควรไปแก้ที่การบริหาร ต้นทุน บริหารค่าใช้จ่าย บริหารคลังสินค้า และบริหารมวลรวมยอดซื้อยอดขาย 
ซี่งต้องจัดทำแผนบริหารงาน และต้องดำเนินการควบคุมอย่างเคร่งคัด กล่าวคือ ถ้าเงินหมุนเข้ามากกว่าเงินหมุนออก 
ปัญหาสภาพคล่องจะไม่เกิดขึ้น ซึ่งมักเกิดจากรอบของสินค้าเข้าช้ากว่ารอบสินค้าออกอีกเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาประแส
การเงินคือหลายธุรกิจ ทำมาคิดแล้วมีกำไร แต่กลับมีปัญหากระแสการเงิน คือ การใช้จ่ายเงินผิดประเภท เช่น 
กู้เงินมาเพื่เป็นเงินหมุนเวียน แต่กลังไปซื้อทรัพย์สิน บางท่านบอกซื้อเงินฝ่อน กิจการก็ดูมีกำไร 
แต่ไม่รู้เงินไปไหนหมด ถ้ามีการทำบัญชีที่สมบูรณ์แล้ว จะพบว่า เงินหมุนเวียน ถูกดูดไปกับการซื้อทรัพย์สิน
คือเอาเงินหมุนเวียนไปซื้อทรัพย์สิน เวลาต้องการเงิน ขายทรัพย์สินไม่ทัน และมีค่าใช้จ่ายด้วย 
จึงเป็นข้อควรระวังสำหรับผู้ประกอบการข้อหนึ่ง

สรุป การบริหารการเงิน คือ การควบคุม ตรวจสอบ ฐานะปริมาณ ของทรัพย์สิน หมุนเร็ว และ หนี้สินหมุนเร็ว 
ว่ามีการหมุนเวียนสอดคล้องกันหรือไม่ ถ้กระแสสินทรัพย์หมุนเร็วมากกว่า หนี้สินหมุนเร็ว แสดงว่าสถานะการการเงินดี 
แต่ถ้ากระแสสินทรัพย์หมุนเร็ว น้อยกว่า หนี้สินหมุนเร็ว แสดงว่าสถานะการการเงินต้องรีบแก้ไข อาจจำเป็นต้องหา
เงินกู้ยืมมาช่วยชั่วคราวแต่อย่าลือ ว่าต้องระยะสั้นเท่านั้น ( จำไว้ ดู เงินสด เงิน ฝากธนาคาร เช็ครับล่วงหน้า 
ลูกหนี้ค้างจ่าย เทียบกับ เช็คจ่ายล่วงหน้า ค่าใชจ่ายประจำต่างๆ เงินผ่อนชำระเงินกู้ระยะยาว 
ดูล่วงหน้าประมาณ 1-2 สัปดาห์ ไปข้างหน้า และปัญหาทางการเงินจะลดลง















1 ความคิดเห็น:

  1. การบริหารเงินที่ดีจะนำไปสู่ความสำเร็จในอนาคต

    ตอบลบ