คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ... คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ... คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ชอบเสี่ยงแค่ไหนก็ไม่ควรละเลย “การกระจายการลงทุน”*

ชอบเสี่ยงแค่ไหนก็ไม่ควรละเลย “การกระจายการลงทุน”*


          การบริหารจัดการเงินลงทุนนั้นสำคัญสุดก็คือเมื่อมีรายได้ต้องบริหารไม่ให้รายจ่ายมากกว่ารายได้ ท้ายสุดรายได้ส่วนที่เหลือควรจะบริหารอย่างไรให้เกิดมูลค่าสูงสุด อย่างพนักงานเงินเดือนเวลาเงินเดือนออกไม่ควรจะบอกว่าจะต้องไปใช้เงินก่อน ควรที่จะเลือก “เก็บก่อนใช้ ไม่ใช่ใช้ก่อนแล้วค่อยเก็บ” ซึ่งโดยปกติแล้วจะแบ่งรายได้เป็นเงิน 3 ส่วนหลัก
          1. “เงินสำรองฉุกเฉิน” ปริมาณหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้ในกรณีต่างๆ เช่นไปหาหมอ หรือซ่อมรถ
          2. “รายจ่ายประจำ” ค่าใช้จ่ายในบ้าน
          3. “เงินออมระยะยาว” ซึ่งเป็นส่วนของเงินลงทุนเป็นหลัก โดยเงิน 2 ส่วนแรกจะมีสัดส่วนประมาณ 50% ของรายได้ อีก 50%
              ที่เหลือจะนำไปลงทุนทั้งหมด และเงินลงทุนส่วนใหญ่ 80 -90% จะลงทุนในตราสารทุน ที่เหลือเป็นประกันซึ่งเกี่ยวกับความมั่นคง
              พื้นฐานของชีวิต เพราะปกติสามารถ “รับความเสี่ยงได้ (Risk Taker)” จะไม่ลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนน้อยกว่าเงินเฟ้อ
              และคาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุน 1.5 - 2.0 เท่า ของเงินเฟ้อนั่น คือ เป้าหมาย
          อย่างไรก็ตามแม้จะชอบการลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงสูงก็จริง แต่ท้ายที่สุดแล้วก็จะยังยึดหลักในเรื่องของการกระจายการลงทุน รวมถึงการลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุนด้วยเช่นกัน เพราะการจะประสบความสำเร็จได้จะต้องมีวินัยการลงทุนอย่างแรก ดังนั้นการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงจะแบ่งเงินเป็น 2 ก้อน ก้อนแรกลงทุนระยะยาว แล้วเก็บอีกก้อนไว้เพื่อรอในเรื่องของการจับจังหวะการลงทุน เพราะท้ายที่สุดเงินที่ลงทุนในระยะยาวไปเลยแล้วไม่ได้มาดูจังหวะตลาดเพื่อลงทุน ท้ายที่สุดอาจทำให้เสียโอกาสการลงทุนไปได้เช่นกัน ก็จัดไว้ 2 ก้อน อย่างน้อยเวลาตลาดมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นก็จะได้ทั้ง 2 ส่วน ไม่พลาดโอกาสในการลงทุนไป
          การกระจายการลงทุนเป็นเรื่องที่ดี แม้จะลงทุนในหุ้นประมาณ 80 - 90% แต่จะมีเงินส่วนหนึ่งที่กระจายไปลงทุนในสินทรัพย์ไม่เสี่ยง เช่น “สลากออมสิน” เป็นสัดส่วนไม่มากประมาณ 10% เป็นเงินที่ต้องสำรองฉุกเฉินเอาไว้ในแต่ละรอบของรายได้ และในสัดส่วนการลงทุนส่วนใหญ่ที่ลงทุนในหุ้นนั้นก็เป็นการลงทุนผ่านกองทุนรวมทั้งหมด โดยจะเลือกบริษัทหลักทรัพย์ที่มีสไตล์การบริหารที่แตกต่างกันออกไป บางบริษัทหลักทรัพย์จะมีสไตล์การบริหารที่เป็นเชิงรับ บางบริษัทหลักทรัพย์ถนัดในเรื่องหุ้นใหญ่ บางบริษัทหลักทรัพย์ถนัดในการเลือกหุ้นลงทุน หรือบางบริษัทหลักทรัพย์จะถนัดในเรื่องกองทุนต่างประเทศ เพราะฉะนั้นกองทุนที่เลือกจะต้องดูรูปแบบการลงทุนของแต่ละบริษัทหลักทรัพย์ว่ามีความถนัดแบบไหนแล้วก็กระจายออกไปหลายๆ บริษัทหลักทรัพย์หลายๆ รูปแบบการลงทุน
          สิ่งที่สำคัญที่สุดคือในส่วนของกองทุนต่างประเทศจะเลือกบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นต่างชาติหรือมีเครือที่เป็นพันธมิตรที่เป็นต่างชาติที่มีเครือข่ายเป็นจำนวนมาก เพราะข้อมูลการลงทุนในแต่ละประเทศค่อนข้างสำคัญ ยิ่งมีเครือข่ายครอบคลุมมาก ก็จะทำให้ได้ประโยชน์ในการลงทุนสูงที่สุดด้วยเช่นกัน แต่จะดูในเรื่องรูปแบบของ บริษัทหลักทรัพย์เกี่ยวกับผลตอบแทนในอดีตดูน้อยมาก เพราะสิ่งที่เห็นในวันนี้อาจจะเป็นที่ 1 แต่อีกปีอาจจะรั้งท้ายก็ได้ ส่วนใหญ่ก็จะดูหลักการในการบริหาร ดูวัตถุประสงค์ในการลงทุน แล้วก็ค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบกันบ้าง แต่ท้ายที่สุดก็มาดูที่รูปแบบการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์มากกว่า
          โดยสรุปเป้าหมายการลงทุนหลักจะอยู่ที่ “ความมั่งคั่งในระยะยาว” คือ การเกษียณอย่างมีคุณค่าเพราะปัจจุบันอายุคนยืนยาวขึ้น หลังเกษียณแล้วต้องอยู่ไปถึงอายุ 75-80 ปี ช่วงเวลาหลังเกษียณ15-20 ปี คุณมีการเก็บเงินไว้พร้อมหรือยัง เพราะฉะนั้นอยากฝากถึงทุกคนว่าควรจะคำนึงถึงในเรื่องนี้เอาไว้ด้วยเช่นเดียวกัน


__________________________
* โดย นายจักรชัย บุญยะวัตร ผู้อำนวยการสายงานพัฒนาช่องทางจัดจำหน่าย บลจ.แมนูไลฟ์(ประเทศไทย) หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจฉบับวันที่ 18 มกราคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น